ปัจจุบันเรามีผู้ใช้งานมากกว่า 997 คน และมีรายการทรัพย์ที่ลงประกาศให้คุณได้เลือกสรร 4,092 รายการ

ข้อควรรู้ก่อนตั้งศาลพระภูมิ

บทความ

01 ม.ค. 2563 09:04 น.|อ่านแล้ว 2,723

ข้อควรรู้ก่อนตั้งศาลพระภูมิ
ข้อควรรู้ก่อนตั้งศาลพระภูมิ

แต่ไหนแต่ไรคนไทยมักมีความเชื่อเกี่ยวกับการ ตั้งศาลพระภูมิ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ซึ่งเป็นที่พึ่งทางใจ ซึ่งศาลพระภูมิ ถือเป็นความเชื่อที่เรียกได้ว่าใกล้ตัวที่สุด คนไทยจะให้ความเคารพ ด้วยเชื่อว่าเป็นเทวดาอารักษ์ผู้คอยปกปักรักษาคนในบ้านให้อยู่เย็นเป็นสุข มีความเจริญรุ่งเรือง ปลอดภัยจากภยันตรายทั้งปวง
การ ตั้งศาลพระภูมิ จึงมีพิธีกรรมและข้อปฏิบัติเป็นแบบแผน ซึ่งหากใครกำลังจะตั้งศาลพระภูมิ “บ้านและสวน” อยากให้ผู้อ่านได้ทราบ “ข้อควรรู้ก่อนตั้งศาลพระภูมิ” เพื่อการนำไปใช้ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
 
ตั้งศาลพระภูมิ
 
1. ศาลพระภูมิ ควรตั้งอยู่ในที่โล่งแจ้ง โดยไม่ควรให้เงาของตัวบ้านและต้นไม้มาบดบัง อีกทั้งไม่ควรตั้งอยู่บนพื้นเดียวกับพื้นบ้าน ศาลที่ตั้งบนพื้นเดียวกับพื้นบ้านได้คือศาลพระพรหมหรือพระนารายณ์เท่านั้น
 
2. การ ตั้งศาลพระภูมิ ควรเว้นระยะห่างจากรั้วบ้านและตัวบ้านพอสมควร และไม่ควรอยู่ใกล้บริเวณห้องน้ำด้วยเพราะถือเป็นบริเวณที่สกปรกและมีกลิ่นเหม็น
 
3. ควรยกพื้นที่ตั้งศาลให้สูงขึ้นจากพื้นดินประมาณ 1 คืบ (กรณีที่สามารถยกได้) และความสูงของศาลควรให้อยู่เหนือระดับสายตาขึ้นไปเล็กน้อย
 
4. ควรดูเรื่องทิศทางการหันหน้าศาลให้เหมาะสม เช่น ศาลไม่ควรหันหน้าตรงกับประตูหน้าบ้าน อย่าหันหน้าศาลเข้าบริเวณที่ตั้งของห้องน้ำ และยังมีเรื่องทิศทางที่เหมาะสมและไม่เหมาะสมอีกด้วย ดังนี้
 
ทิศที่ควรหันหน้าศาล
ตะวันออกเฉียงเหนือ
ทิศตะวันออก
ทิศตะวันออกเฉียงใต้
ทิศที่ไม่ควรหันหน้าศาล
 
ทิศตะวันตก
ทิศใต้

ตั้งศาลพระภูมิ
 
ในกรณีที่อยู่ในหมู่บ้านหรือชุมชน หากพื้นที่ส่วนกลางมีการ ตั้งศาลพระภูมิ ไว้อยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องตั้งศาลพระภูมิในบ้านก็ได้ แต่ถ้าอยากตั้งเพิ่มอีกก็ไม่มีปัญหาเช่นกัน
ควรตั้งแค่ศาลใดศาลหนึ่ง เช่น ถ้าตั้งศาลพระภูมิแล้วก็ไม่จำเป็นต้องตั้งศาลตายายเพิ่มอีกควรหมั่นดูแล เปลี่ยนของไหว้ตลอด อย่างน้อยเฉพาะวันพระก็ได้
ดูฤกษ์วันในการตั้งศาลให้ดี ซึ่งในแต่ละเดือนจะมีวันที่ห้ามตั้งศาล เช่น เดือน 2 ห้ามตั้งศาลวันพุธและวันศุกร์ เวลาที่ควรตั้งศาลพระภูมิคือ ช่วงเช้าหรือก่อนดวงอาทิตย์ตกดิน
เจ้าของบ้านสามารถตั้งศาลพระภูมิเองได้ แต่โดยปกติจะให้พราหมณ์หรือผู้รู้เป็นผู้ประกอบพิธี

                                                               ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก www.baanlaesuan.com